ใบความรู้ การเพิ่มคำ

คำซ้ำ

ค้ำซ้ำเป็นคำที่เพิ่มขึ้นโดยออกเสียงซ้ำคำเดิมให้ต่อเนื่องกัน เมื่อเขียนจะใช้เครื่องหมาย "ๆ" เติมหลังคำเดิม

ตัวอย่าง เด็ก เรา เก่ง อาจซ้ำเป็นคำ เด็กๆ เราๆ เก่งๆ ความหมายจะเปลี่ยนไปบ้าง แต่ไม่ถึงกับเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง สังเกตประโยชน์ เช่น

เด็กกำลังไม่สบาย

เด็ก อาจหมายถึง เด็กคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ แต่ถ้าพุดว่า เด็กๆกำลังไม่สบาย เด็กๆจะหมายถึงเด็กหลายคน

คนย่างเราไม่ย่อมหรอก

เรา อาจหมายถึง คนเดียวหรือหลายคนก็ได้ แต่ถ้าพูดว่า คนอย่างเราๆคงไม่ยอมหรอก เราๆ หมายถึง คนหลายคนในกลุ่มนั้น

ห้องนี้มีแต่เด็กเก่ง

เด็กเก่ง มีความหมายว่า เด็กมีความสามารถสูง แต่ถ้าพุดว่า ห้องนี้มีแต่เด็กเก่งๆ เด็กเก่งๆ มีความหมายว่า เด็กในจำพวกที่ถือว่า มีความสามารถสูง อาจไม่เก่งเสมอกันทุกคน แต่จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ ที่เก่ง

ข้อสังเกตเกี่ยวกับคำซ้ำ

๑. ความหมายของคำซ้ำอาจเปลี่ยนไปจากความหมายของคำเดิม ที่น่าสังเกตมีดังนี้

เมื่อซ้ำคำนาม จะมีความหมายเท่ากับเพิ่มจำนวนของคำนามนั้น คำนามที่ซ้ำจึงมีความหมายชัดเจนว่าเป็นพหูพจน์

ตัวอย่าง

พี่ๆไม่รักน้อง

เพื่อนๆไม่ชอบเขา

ลูกๆไม่อยู่บ้าน

เมื่อคำซ้ำแลดงหน่วยหลักของจำนวนที่อยู่หลังคำว่า เป็น จะมีความหมายเท่ากับเพิ่มจำนวนหน่วยหลักให้มากขึ้น

ตัวอย่าง

เขาเสียเงินเป็นแสนๆเพื่อแลกกับชีวิต

รถยนต์ราคาเป็นล้านไม่น่าจอดทิ้งไว้

๒.มีบางคำต้องออกเสียงซ้ำเสมอ

ตัวอย่าง

ฝนตกหยิบๆ

พยักหน้าหงึกๆ

พูดฉอดๆ

๓.เฉพาะในภาษาพูดที่ไม่เป็นทางการ อาจออกเสียงเน้นหนักที่คำหน้าของคำซ้ำและเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ของคำหน้านั้นให้สูงขึ้นกว่าเสียงวรรณยุกต์ของคำหลัง คำซ้ำเช่นนี้เน้นความหมายให้หนักแน่นกว่าเดิม

ตัวอย่าง

เธอหน้าตาเด็กเด็ก

ดึกมากแล้ว ฉันง้วงง่วง

คำซ้อน

คำซ้อนคำหนึ่งประกอบด้วยคำเรียงกันตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไป แต่ละคำมีความหมายใกล้เคียงกันก็มี หรือตรงข้ามกันก็มี เมื่อประกอบเข้ากันแล้ว จะทำให้มีคำใช้เพิ่มขึ้นในภาษา

ตัวอย่าง

- เกี่ยวข้อง หมายถึง มีความสัมพันธ์กัน ประกอบด้วยคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน คือคำ เกี่ยว ซึ่งหมายถึง ยึดหรือเหนี่ยวเข้ามาติดกับคำ ข้อง ซึ่งหมายถึงติดอยู่

- ขัดขวาง หมายถึง ทำให้ดำเนินไปไม่สะดวก ประกอบด้วยคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน คือคำ ขัด ซึ่งหมายถึง ทำให้ติดขวางไว้ไม่หลุดออกกับคำ ขวาง ซึ่งหมายถึง กีดกั้น

- ส่งเสริม หมายถึง ช่วยให้ดีขึ้น เจริญขึ้น สะดวกขึ้น หรือทำหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น

ประกอบด้วยคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน คือคำ ส่ง ซึ่งหมายถึง ทำให้ เคลื่อนไปด้วยดี กับคำ เสริม ซึ่งหมายถึง เพิ่มเติมให้พอเหมาะ

คำซ้อนบางคำอาจมีความหมายไม่ต่างกับความหมายของคำที่ซ้อนกันมากนัก แต่บางคำอาจเปลี่ยนความหมายไปบ้าง

ตัวอย่าง

- คัดเลือก หมายถึง พิจารณาคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ เพื่อเอาเฉพาะสิ่งที่ต้องการไว้และ ตัดสิ่งที่ไม่ต้องการออกไป มากหนัก

- ค้ำจุน หมายถึง อุดหนุนให้ดำรงอยู่ได้ มีความหมายเปลี่ยนไปจากคำ ค้ำ ซึ่งหมายถึง เอาวัตถุที่แข็งแรง เช่น ไม้ ยันวัตถุอีกสิ่งหนึ่งไว้เพื่อไม่ให้ล้ม กับคำ จุน ซึ่งหมายถึง ใช้วัตถุขนาดเล็กยันพอปะทะปะทังวัตถุอีกสิ่งหนึ่ง ไว้ไม่ให้ล้ม

คำซ้อนบางคำ คำใดคำหนึ่งอาจมิได้ใช้ทั่วไป แต่ใช้เฉพาะในภาษาถิ่นบางถิ่น หรืออาจเป็นคำที่มาจากภาษาอื่น ซึ่งมีความหมายเดียวกันหรือทำนองเดียวกันกับอีกคำหนึ่ง

ตัวอย่าง

- เสื่อสาด คำ สาด เป็นคำภาษาถิ่น หมายถึง เสื่อ

- สร้างสรรค์ สรรค์ เป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤต หมายถึง สร้าง

- ห้าวหาญ หาญ เป็นคำที่มาจากภาษาเขมร หมายถึง กล้า

ข้อสังเกตเกี่ยวกับคำซ้อน

๑.คำซ้อนในภาษาไทยจำนวนไม่น้อยประกอบด้วยคำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดียวกัน เช่น เกลี้ยงเกลา แกว่งไกว ขยับเขยื้อน เคลื่อนคล้อย แจ่มแจ้ง เชิดชู

๒.คำพยางค์เดียวหรือคำสองพยางค์ อาจซ้อนกันได้ กลายเป็นคำซ้อน ๔ พยางค์ เช่น ป่าดงพงไพร กระเซ้าเย้าแหย่ แม่น้ำลำคลอง บรรเทาเบาบาง

๓.หากคำซ้อนคำพยางค์เดียวกับคำ ๒ พยางค์ มักมีการเติมพยางค์อีก ๑ พยางค์ เพื่อให้กลายเป็น คำซ้อน ๔ พยางค์ เช่น ขโมยขโจร สงบงบเงียม

๔.คำซ้อน ๔ พยางค์ อาจมีสัมผัสสระ เช่น คุยโม้โอ้อวด ตีอกชกหัว ถนนหนทาง และอาจมี การซ้ำพยางค์ที่ ๑ กับ ๓ เช่น หัวจิตหัวใจ ห้องน้ำห้องท่า

คำประสม

ในภาษาไทยมีคำประสมอยู่เป็นจำนวนมาก การเพิ่มคำโดยวิธีประสมคำมีมาเป็นเวลายาวนาน โดยนำคำตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมาประสมกัน ทำให้เกิดคำใหม่ มีความหมายใหม่ แต่ก็พอมีเค้าความหมายเดิมอยู่บ้าง

ตลอดระยะเวลาที่คนไทยคิดค้นสิ่งใหม่และรับสิ่งใหม่จากชนชาติอื่นทั้งที่เป็นวัตถุกิจกรรม วิชาการ และอื่นๆ ก็ได้คิดคำประสมขึ้นเพื่อเรียกขานสิ่งเหล่านั้น เป็นผลให้มีคำเพิ่มมากขึ้นจนถึงทุกวันนี้ ดังเช่นตัวอย่าง

อาหาร แกงส้ม แกงเผ็ด ต้มส้ม ต้มยำ น้ำพริก กะปิคั่ว ไข่เค็ม ไข่ดาว ขนมถ้วยฟู ทองหยอด อมยิ้ม น้ำอัดลม น้ำผลไม้

การสื่อสารคมนาคม จดหมายด่วน จดหมายลงทะเบียน โทรศัพท์เคลื่อนที่ ดาวเทียม

ใยแก้วนำแสง ประชุมทางไกล เครื่องบิน รถไฟฟ้า

บุคคล แม่งาน แม่ครัว พ่อบ้าน นายท้าย คนงาน คนทรง คนใช้

คนโปรด หัวหน้ากอง หัวคะแนน ตัวแทน

กิจกรรมกีฬา วิ่งเปี้ยว วิ่งวิบาก ทุ่มน้ำหนัก ขว้างจักร พุ่งแหลน กระโดดไกล

หมากล้อม มวยปล้ำ หมากรุก กระโดดสูง

ข้อสังเกตเกี่ยวกับคำประสม

๑. คำประสมมักจะเป็นคำนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์

ตัวอย่าง คำนาม

สมุดดำ หมายถึง สมุดโบราณของไทยที่ใช้กระดาษสีดำ อักษรสีขาว

มิได้หมายถึง สมุดสีดำโดยทั่วไป

มดแดง หมายถึง มดชนิดหนึ่ง ปกติอาศัยอยู่ตามไม้ ตัวสีแดง กัดเจ็บ

มิได้หมายถึง มดสีแดงทั่วไป

ตัวอย่าง คำกริยา

รู้ทัน หมายถึง รู้เท่าทัน ไม่หลงกล รู้เล่ห์เหลี่ยม เพราะมีไหวพริบ

มิได้หมายความว่า รู้เรื่องทั่วๆ ไปทันต่อเหตุการณ์

ยกร่าง หมายถึง เขียนขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อปรับปรุงต่อไปก่อนนำไปใช้จริง

มิได้หมายความว่า ยกร่างกายขึ้น

ตัวอย่าง คำวิเศษณ์

คอตก หมายถึง หมดเรี่ยวแรงเพราะพ่ายแพ้หรือผิดหวัง

มิได้หมายความเฉพาะอาการของลำคอ

ปากหวาน หมายถึง พดไพเราะเอาใจผู้ฟังทำให้ผู้ฟังหลงเชื่อ อาจไม่จริงใจก็ได้

มิได้มีความหมายเกี่ยวกับรส

๒. คำประสมที่เป็นคำนาม คำกริยา คำวิเศษณ์นั้น ไม่จำเป็นว่าคำแรกจะต้องเป็นคำนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์เสมอไป

- รองเท้า บังตา ห้ามล้อ ยกทรง ล้วนเป็นคำนาม แต่คำแรกเป็นคำกริยาคำที่ตามเป็นคำนาม

- ห่อหมก กันสาด กันชน ต้มยำ ล้วนเป็นคำนาม แต่คำแรกและคำที่ตามเป็นคำกริยาทั้งสองคำ

๓.คำประสมจำนวนมากมีคำแรกซ้ำกัน ถือเป็นคำตั้ง แล้วมีคำต่างๆ มาช่วยเสริมความหมาย

คำประสมที่หมายถึงคน

คน คนใช้ คนนำทาง คนเก็บขยะ คนเฝ้าประตู

เจ้า เจ้าบ้าน เจ้ามือ เจ้าเมือง เจ้าจำนำ

คำประสมที่หมายถึงเครื่องอุปโภคบริโภค

ของ ของคาว ของหวาน ของเล่น ของขวัญ

เครื่อง เครื่องเงิน เครื่องตัดหญ้า เครื่องคิดเลข เครื่องไฟฟ้า

คำประสมที่หมายถึงกริยาอาการ

วาง วางหน้า วางเฉย วางท่า วางยา

จัด จัดการ จัดซื้อ จัดจ้าง จัดทำ

คำสมาส

จุดประสงค์ของการเรียน คำสมาส

เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักคำบาลี คำสันสกฤตมากขึ้น

2. เพื่อให้นักเรียนรู้จักการนำ คำบาลี คำสันสกฤต มาประสมกัน

ทำให้เกิดคำใหม่ขึ้น

3. เพื่อให้นักเรียนเข้าใจความหมายของ คำสมาส คำสนธิ ได้ดีขึ้น

4. เพื่อให้นักเรียนรู้จักเลือก คำสมาส คำสนธิ มาใช้ในการแต่งประโยค

5. เพื่อให้นักเรียนเห็นความหลากหลายของภาษาที่ใช้ในภาษาไทย

6. เพื่อศึกษาให้รู้ถึงความเป็นมาของภาษาไทย

7. เพื่อศึกษาให้รู้ถึงรากภาษาของคำ

8. เพื่อศึกษาถึงกฎในการรวมคำของ คำสนธิ และ คำสมาส

9. เพื่อศึกษาถึงความแตกค่างของ คำสนธิ กับ คำสมาส

10. เพื่อแสดงถึงความแตกค่างระหว่าง คำสนธิ คำสมาส กับ คำซ้อนและ คำซ้ำ

ที่ผู้คนส่วนใหญ่อาจจะเข้าใจผิด

11. เพื่อแสดงถึงความแตกต่างของ คำสนธิ คำสมาส กับ คำเขมร ซึ่งบางคำมี

ความคล้ายคลึงกัน

12. เพื่อเป็นความรู้ในการแยกคำภาษาบาลีออกจากคำภาษาอื่นๆ

คำสมาส

คำสมาส คือ คำที่เกิดจากการนำคำในภาษาบาลีและสันสกฤตมารวมเข้าด้วยกัน เพื่อทำให้เกิดคำใหม่ ที่มีความหมายใหม่ โดยยังมีเค้าของความหมายเดิมอยู่ หลักสังเกตคำสมาสในภาษาไทย

1. เกิดจากคำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไป

2. เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น เช่น กาฬพักตร์ ภูมิศาสตร์ ราชธรรม บุตรทาน อักษรศาสตร์ อรรถคดี ฯลฯ

3. พยางค์สุดท้ายของคำหน้า หากมีสระ อะ หรือมีตัวการันต์อยู่ ให้ยุบตัวนั้นออก (ยกเว้นคำบางคำ เช่น กิจจะลักษณะ เป็นต้น)

4. แปลความจากหลังมาหน้า เช่น ราชบุตร แปลว่า บุตรของพระราชา, เทวบัญชา แปลว่า คำสั่งของเทวดา, ราชการ แปลว่า งานของพระเจ้าแผ่นดิน

5. ส่วนมากออกเสียงพยางค์ท้ายของคำหน้า แม้จะไม่มีรูปสระกำกับอยู่ โดยจะใช้เสียง อะ อิ และ อุ (เช่น เทพบุตร) แต่บางคำก็ไม่ออกเสียง (เช่น สมัยนิยม สมุทรปราการ)

6. คำบาลีสันสกฤตที่มีคำว่า พระ ซึ่งกลายเสียงมาจากบาลีสันสกฤต ก็ถือว่าเป็นคำสมาส (เช่น พระกร พระจันทร์)

7. ส่วนใหญ่จะลงท้ายว่า ศาสตร์ กรรม ภาพ ภัย ศึกษา ศิลป์ วิทยา (เช่น ศึกษาศาสตร์ ทุกขภาพ จิตวิทยา)

8. อ่านออกเสียงระหว่างคำ เช่น

9. คำที่มีคำเหล่านี้อยู่ด้วย มักจะเป็นคำสมาส คือ การ กร กรรม คดี ธรรม บดี ภัย ภัณฑ์ ภาพ ลักษณ์ วิทยา ศาสตร์

ข้อสังเกต

1. ไม่ใช่คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตทั้งหมด เช่น

2.คำที่ไม่สามารถแปลความจากหลังมาหน้าได้ไม่ใช่คำสมาส เช่น

คำสมาสบางคำไม่ออกเสียงสระตรงพยางค์ของคำหน้า เช่น

ตัวอย่างคำสมาส

ตัวอย่างคำสมาสที่มีการสนธิ